นิสิตในหลักสูตร
วท.ม. & วท.ด. สาขาวิชาคณิตศาสตร์
หลักสูตรปริญญาโท
ชื่อหลักสูตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์
Master of Science Program in Mathematics
ชื่อปริญญา
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
Master of Science (M.Sc.)
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณสมบัติต่อไปนี้
- มีความรู้ลึกซึ้งในด้านทฤษฎีเพียงพอที่จะสามารถพัฒนางานวิจัยทางคณิตศาสตร์หรือ สร้างองค์ความรู้ใหม่ เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ มีศักยภาพที่โดดเด่นที่จะศึกษาคณิตศาตร์ขั้นสูง
- มีความรู้รอบกว้างขวางและสามารถเชื่อมโยงทฤษฎีกับการนำไปแก้ปัญหาในงานวิจัย ตื่นตัวในการใฝ่หาความรู้ด้วยตนเอง และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการศึกษา อภิปราย ค้นคว้า วิจัยและสื่อสารได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ มีคุณธรรม มีความรับผิดชอบและเป็นผู้นำสังคม
- สร้างองค์ความรู้ใหม่และเป็นแหล่งอ้างอิงทางคณิตศาสตร์
รายละเอียดหลักสูตร
แผน ก แบบ ก 1 (เน้นการวิจัยและทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว)
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 42 หน่วยกิต
แผน ก แบบ ก 2 (เรียนรายวิชาและทำวิทยานิพนธ์)
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 42 หน่วยกิต
ระยะเวลาการศึกษา 2 – 4 ปี
โครงสร้างหลักสูตร | แผน ก | |
แบบ ก 1 | แบบ ก 2 | |
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า | 42 | 42 |
จำนวนหน่วยกิตรายวิชาเรียน | – | 24 |
– รายวิชาบังคับ | – | – |
– รายวิชาบังคับเลือก | – | 9 |
– รายวิชาเลือก | – | 15 |
จำนวนหน่วยกิตวิทยานิพนธ์ | 42 | 18 |
หมายเหตุ ผู้ที่เข้าศึกษาแผน ก แบบ ก1 หากมีพื้นฐานความรู้ไม่เพียงพอ คณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ อาจกำหนดให้เรียนรายวิชา หรือทำกิจกรรมทางวิชาการอื่นเพิ่มเติม โดยไม่นับหน่วยกิต
นิสิตใหม่ระดับปริญญาโท สาขาวิชาคณิตศาสตร์ ที่เข้าศึกษาในภาคการศึกษาต้น และสนใจเข้าร่วมโครงการ Double-Degree Master’s Program in Mathematics ร่วมกับ the Graduate School of Natural Science and Technology, Kanazawa University ประเทศญี่ปุ่น สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมตามรายละเอียดข้างท้าย หรือยื่นคำขอเข้าร่วมโครงการ/สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ในวันปฐมนิเทศ หรือติดต่อสอบถามประธานหลักสูตรฯ email: yotsanan.m@chula.ac.th
หลักเกณฑ์การสมัคร (สำหรับนักศึกษาใหม่ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาแรกของแต่ละปีการศึกษา)
หรือดูรายละเอียดที่เว็บไซต์ https://cmpsci.w3.kanazawa-u.ac.jp/DDP/
- ระยะเวลารับสมัคร: สัปดาห์สุดท้ายของเดือนกรกฎาคม – สัปดาห์แรกของเดือนสิงหาคมของทุกปี
- การสอบปากเปล่า: เดือนสิงหาคมของทุกปี
- สถานที่สอบ: จะแจ้งให้ทราบทางอีเมล์
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ดูได้ที่ GUIDELINES FOR APPLICANTS (Master’s Course)
รายละเอียดหลักสูตรปริญญาโท (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566)
DDP Program
แผนการศึกษาหลักสูตร
Double-Degree Program
Course Description
เนื้อหารายวิชา (ป.โท)
หลักสูตรปริญญาเอก
ชื่อหลักสูตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์
Doctor of Philosophy Program in Mathematics
วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (วท.ด.)
Doctor of Philosophy (Ph.D.)
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีคุณสมบัติต่อไปนี้
- มีศักยภาพในการวิจัยเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ
- มีความรู้และทักษะทางคณิตศาสตร์ที่สามารถถ่ายทอดและต่อยอดเป็นองค์ความรู้ใหม่ของตนเอง
- มีความตื่นตัวในการใฝ่หาความรู้ด้วยตนเอง และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
- สามารถใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการศึกษา อภิปราย ค้นคว้า วิจัยและสื่อสารได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
- มีคุณธรรม มีความรับผิดชอบและเป็นผู้นำสังคม
- สร้างองค์ความรู้ใหม่และเป็นแหล่งอ้างอิงทางคณิตศาสตร์
รายละเอียดหลักสูตร
แบบ 1 เน้นการทำวิทยานิพนธ์
แบบ 1.1 สำหรับผู้เข้าศึกษาด้วยวุฒิปริญญาโท จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 60 หน่วยกิต
แบบ 1.2 สำหรับผู้เข้าศึกษาด้วยวุฒิปริญญาตรี จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 72 หน่วยกิต
แบบ 2 เรียนรายวิชาและทำวิทยานิพนธ์
แบบ 2.1 สำหรับผู้เข้าศึกษาด้วยวุฒิปริญญาโท จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 60 หน่วยกิต
แบบ 2.2 สำหรับผู้เข้าศึกษาด้วยวุฒิปริญญาตรี จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 72 หน่วยกิต
ระยะเวลาการศึกษา 3 ปี สำหรับผู้เข้าด้วยวุฒิปริญญาโท และ 4 ปี สำหรับผู้เข้าด้วยวุฒิปริญญาตรี
โครงสร้างหลักสูตร | แบบ 1.1 | แบบ 1.2 | แบบ 2.1 | แบบ 2.2 |
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า | 60 | 72 | 60 | 72 |
จำนวนหน่วยกิตรายวิชาเรียน | – | – | 12 | 24 |
– รายวิชาบังคับเลือก | – | – | – | 9 |
– รายวิชาเลือก | – | – | 12 | 15 |
จำนวนหน่วยกิตวิทยานิพนธ์ | 60 | 72 | 48 | 48 |
หมายเหตุ
1. นิสิตทุกคนต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชา 2301894 สัมมนาวิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิตทุกภาคการศึกษาจนกว่าจะสำเร็จการศึกษาโดยไม่นับหน่วยกิต ประเมินผลเป็น S/U และต้องได้รับสัญลักษณ์ S ในภาคการศึกษาสุดท้ายก่อนสำเร็จการศึกษา
2. ผู้ที่เข้าศึกษาแบบ 1 และแบบ 1.2 คณะกรรมการบริหารหลักสูตรอาจกำหนดให้เรียนรายวิชาหรือทำกิจกรรมทางวิชาการอื่นเพิ่มเติมโดยไม่นับหน่วยกิต
Doctoral Program
รายละเอียดหลักสูตรปริญญาเอก
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566 )
Course Description
เนื้อหารายวิชา (ป.เอก)
การสอบวัดคุณสมบัติ
การสอบวัดคุณสมบัติสำหรับหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต (Qualifying Examination) เป็นการสอบวัดความรู้พื้นฐาน ทักษะเชิงวิเคราะห์ และศักยภาพของนิสิตในการทำงานวิจัยโดยอิสระเพื่อแสดงถึงศักยภาพและความพร้อมของนิสิตที่จะศึกษาในระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต
ข้อกำหนดเกี่ยวกับการสอบวัดคุณสมบัติ มีรายละเอียดดังนี้
- นิสิตจะสอบวัดคุณสมบัติได้ก็ต่อเมื่อ
- ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ
- นิสิตที่เข้าศึกษาด้วยวุฒิปริญญาโทหรือวุฒิปริญญาตรีที่ได้รับปริญญาเกียรตินิยม สามารถลงทะเบียนสอบวัดคุณสมบัติได้ ตั้งแต่ภาคการศึกษาแรกที่เข้าศึกษา สำหรับนิสิตที่เข้าศึกษาในหลักสูตรแบบต่อเนื่องด้วยวุฒิปริญญาตรีที่ไม่ได้รับปริญญาเกียรตินิยม (เฉพาะนิสิตแผน ก แบบก 2) ต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาในหลักสูตรไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต (*) และมีแต้มเฉลี่ยสะสม 3.25 ขึ้นไป จึงจะลงทะเบียนสอบวัดคุณสมบัติได้
- นิสิตต้องลงทะเบียนและสอบวัดคุณสมบัติ โดยได้รับสัญลักษณ์ S (ผ่าน) ภายใน 4 ภาคการศึกษานับแต่ภาคการศึกษาแรกที่เข้าศึกษาสำหรับผู้เข้าศึกษาด้วยวุฒิปริญญาโท และภายใน 5 ภาคการศึกษานับตั้งแต่ภาคการศึกษาแรกที่เข้าศึกษาสำหรับผู้เข้าด้วยวุฒิปริญญาตรี (**)
- นิสิตที่สอบวัดคุณสมบัติแล้ว ผลปรากฏว่าได้สัญลักษณ์ U อาจลงทะเบียนสอบได้อีก 1 ครั้ง ถ้าได้ U สองครั้ง จะพ้นสภาพความเป็นนิสิต เว้นแต่ได้รับอนุมัติจากหลักสูตรฯ ให้เปลี่ยนเข้าสู่ระดับปริญญามหาบัณฑิต
- การสอบวัดคุณสมบัติประกอบด้วยการสอบข้อเขียน
- นิสิตต้องสอบผ่าน 2 สาขาวิชาจาก 4 สาขาวิชา ได้แก่ Algebra, Analysis, Topology+Geometry และ Applied Mathematics และในแต่ละสาขาวิชาให้เลือกสอบ 2 วิชา โดยจะต้องได้คะแนนสอบอย่างน้อย 50% ของแต่ละสาขาวิชานั้น จึงจะถือว่าสอบผ่าน
- ในแต่ละภาคการศึกษา นิสิตสามารถเลือกสอบ 1 สาขาวิชา หรือ 2 สาขาวิชาก็ได้ ถ้าสอบผ่านเพียง 1 สาขา ถือว่าสอบผ่านในสาขาวิชานั้น และสามารถสอบอีก 1 สาขาวิชา ที่ยังไม่ผ่านในภาคการศึกษาต่อไป
(*, **) สำหรับนิสิตที่เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2561 เป็นต้นไป
เนื้อหาของแต่ละสาขาครอบคลุมรายวิชาต่อไปนี้
2301610 Linear and Multilinear Algebra
– Basic concepts; linear maps; linear geometry; multilinear algebra; quadratic forms.
2301613 Abstract Algebra I
– Groups; group actions; Sylow theorems; rings; ideals; polynomial rings; unique factorization domains;
fields and field extensions.
2301614 Abstract Algebra II
– Jordan-Holder theorem; solvable groups; free groups; classification of extension fields; Galois theory;
Noetherian ring; modules.
2301620 Mathematical Analysis
– The real number system; metric spaces; sequences and series of real numbers; continuity;
differentiation; the Riemann integral; uniform convergence; the Arzela-Ascoli theorem; the Stone-
Weierstrass theorem.
2301621 Real Analysis I
– Measures; integration; normed linear spaces; – spaces; Hilbert spaces.
2301622 Real Analysis II
– Product measures; signed and complex measures; differentiation; Banach spaces.
2301623 Complex Analysis
– Holomorphic functions; complex power series; complex line integrals; Cauchy theorem, Cauchy integral
formula and applications; calculus of residues; maximum modulus principle; conformal mappings,
normal families, Riemann mapping theorem; harmonic functions.
2301631 Topology
– Topological spaces; complete metric spaces; product spaces; quotient spaces; countability axioms;
separation axioms; connectedmess; compactness; compactifications; net convergence; function
spaces.
2301632 Algebraic Topology
– Homotopy; fundamental groups; covering spaces; van Kampen’s theorem; simplicial homology; singular
homology CW-complexes; cellular homology; Eilenberg-Steenrod axioms.
2301635 Differentiable Manifolds
– Differentiable manifolds, tangent spaces; vector fields and flows; immersions and submersions;
Frobenius’ theorem; integration on manifols, differential forms, Stokes’theorem; introduction to Lie
groups and Lie algebras.
บังคับสอบรายวิชา 2301653 Numerical Analysis
– Solutions of systems of linear and non-linear equations, numerical methods for ordinary
differential equations, finite difference methods for two-point boundary value problems and finite
difference methods for partial differential equations.
และเลือกสอบอีก 1 รายวิชาจาก 3 รายวิชาต่อไปนี้
2301641 Method of Applied Mathematics I
– Theory of distribution, Green’s functions, operator theory, perturbation method.
2301650 Partial Differential Equations
– First-order equations; linear second-order PDEs; representation of solutions; introduction to Hamilton-
Jacobi equations; other ways to represent solutions.
2301676 Stochastic Models
– Stochastic programming models, probabilistic dynamic programming models, Markov chain, waiting line
models, birth-death process.
แบบฟอร์มขอสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Exam)
นิสิตที่ประสงค์จะสอบวัดคุณสมบัติ ประจำภาคการศึกษาต้น กรอกแบบฟอร์มภายในเดือนกรกฎาคม และภายในเดือนธันวาคม สำหรับภาคการศึกษาปลาย
การสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์
การสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ เป็นการสอบวัดความรู้ความเข้าใจของนิสิตในเรื่องที่เกี่ยวกับประเด็นปัญหา ระเบียบวิธีการวิจัย วิธีการและเทคนิคที่ใช้ในการแก้ปัญหางานวิจัย การสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ในหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต ต้องมีการสอบความรู้พื้นฐาน และความรู้เชิงลึกที่จำเป็นในการทำวิทยานิพนธ์ เพื่อให้แน่ใจว่านิสิตมีความรู้ที่จำเป็นเพียงพอในการทำงานวิจัย
- สำหรับนิสิตหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต ต้องได้รับอนุมัติโครงร่างภายใน 2 ปีการศึกษานับแต่ภาคการศึกษาแรกที่เข้าศึกษา
- สำหรับนิสิตปริญญาดุษฎีบัณฑิต ต้องได้รับอนุมัติโครงร่างภายใน 3 ปีการศึกษานับแต่ภาคการศึกษาแรกที่เข้าศึกษา ยกเว้นหลักสูตรบริหารแบบต่อเนื่องนิสิตจะสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์เมื่อใดก็ได้ แต่ต้องไม่น้อยกว่า 60 วันก่อนสอบวิทยานิพนธ์
รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก
♦ รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก
(รายชื่อผู้ที่เข้าข่ายเป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกระดับปริญญาโทและเอก ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ แล้ว)
♦ แบบฟอร์มเสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก
(สำหรับนิสิตที่ประสงค์จะเสนอรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก นอกเหนือจากรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกข้างต้น)
ตัวอย่าง Appendix และรูปแบบ Reference ของหลักสูตร
♦ MSc-Appendix-Proposal.pdf
♦ PhD-Appendix-Proposal.pdf
♦ MSc-Appendix- Proposal.tex
♦ PhD-Appendix-Proposal.tex
♦ รูปแบบ Reference
การสอบวิทยานิพนธ์
การสอบวิทยานิพนธ์ เป็นการสอบวัดความรู้ความเข้าใจของนิสิตในเรื่องที่เกี่ยวกับประเด็นปัญหา ระเบียบวิธีการวิจัย วิธีการและเทคนิคที่ใช้ในการแก้ปัญหางานวิจัย การสอบวิทยานิพนธ์ต้องมีการสอบวัดความรู้พื้นฐานและความรู้เชิงลึกที่ใช้ในการทำวิทยานิพนธ์เพื่อประเมินว่านิสิตมีความรู้และความเข้าใจในงานวิจัย
นิสิตจะสอบวิทยานิพนธ์ได้ ก็ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้
1. ลงทะเบียนเรียนรายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
2. ได้รับอนุมัติโครงร่างวิทยานิพนธ์จากคณะกรรมการบริหารคณะเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 60 วันก่อนวันสอบวิทยานิพนธ์ ในกรณีที่โครงร่างวิทยานิพนธ์ไม่มีข้อแก้ไขในสาระสำคัญ และคณะกรรมการบริหารคณะอนุมัติให้สอบวิทยานิพนธ์ได้ก่อนระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง โดยให้เริ่มต้นนับระยะเวลาดังกล่าวตั้งแต่วันที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรเห็นชอบโครงร่างวิทยานิพนธ์
3. มีหลักฐานแสดงว่า ได้ส่งบทความวิจัยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ให้วารสารทางวิชาการพิจารณาเพื่อการตีพิมพ์ หรือได้รับการตอบรับให้ไปเสนอผลงานต่อที่ประชุมวิชาการแล้ว ทั้งนี้ ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในระเบียบหรือประกาศมหาวิทยาลัย
4. ผ่านเกณฑ์การทดสอบภาษาอังกฤษตามที่มหาวิทยาลัย/หลักสูตรกำหนด
กำหนดการสอบวิทยานิพนธ์ การส่งวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ และการส่งบทความการเผยแพร่ผลงานวิทยานิพนธ์ ปีการศึกษา 2567 (PDF)
ขั้นตอนการสอบวิทยานิพนธ์ (PDF)
โปรแกรมบริหารจัดการวิทยานิพนธ์ (iThesis) (Program)
แบบฟอร์มขอสอบวิทยานิพนธ์ (Form)
โปรแกรมตรวจสอบวิทยานิพนธ์ Turnitin (Program)
เกณฑ์การประเมินผลการสอบวิทยานิพนธ์ (PDF)
แนวปฏิบัติการส่งวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ (PDF)
ใบตรวจสอบเอกสารขอสำเร็จการศึกษา (PDF)
แบบประเมินหลักสูตรออนไลน์ (Form)
แนวปฏิบัติการตรวจสอบวิทยานิพนธ์
วิทยานิพนธ์ที่เขียนด้วยภาษาอังกฤษ และภาษาต่างประเทศอื่นทั้งหมดหรือบางส่วน ให้นิสิตตรวจสอบโดยใช้โปรแกรม Turnitin และโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ สำหรับวิทยานิพนธ์ที่เขียนด้วยภาษาไทย ให้ตรวจสอบด้วยโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์
ทุนการศึกษา
ทุนยกเว้นค่าเล่าเรียน (สำหรับนิสิตปริญญาโท) จำนวนเงิน 33,500 บาท/เทอม ระยะเวลาการให้ทุน 2 ปี
- ทุนประเภท คณะฯ100% : นิสิตชำระค่าลงทะเบียนเทอมแรกที่เข้าศึกษา และนำใบเสร็จมาเบิกหลักสูตรฯ
- ทุนประเภท คณะฯ 50/หลักสูตรฯ 50 : นิสิตชำระค่าลงทะเบียนและนำใบเสร็จมาเบิก
กำหนดเปิดรับสมัคร : (ภาคต้น) สัปดาห์แรกของเดือนกรกฎาคม | (ภาคปลาย) สัปดาห์แรกของเดือนธันวาคม
ดาวน์โหลด: ใบสมัคร
เอกสารประกอบการเบิกเงินทุน : ใบเสร็จค่าลงทะเบียน (ต้นฉบับ), สำเนาบัตรนิสิต, สำเนาหน้าแรกของบัญชีธนาคาร
ได้แก่ ทุน 60/40 , ทุน 72 พรรษา , ทุน 100 ปี จุฬาฯ , ทุน 60 พรรษา ฯลฯ
ดูรายละเอียด/ดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่เว็บไซต์บัณฑิตวิทยาลัย www.grad.chula.ac.th (เมนูทุนอุดหนุนการศึกษา)
และนำใบสมัครมาส่งที่หลักสูตรภายในกำหนดการข้างท้าย (ยกเว้นทุน 60/40 ใช้ใบสมัครของหลักสูตร)
กำหนดเปิดรับสมัคร : (ภาคต้น) สัปดาห์แรกของเดือนกรกฎาคม | (ภาคปลาย) สัปดาห์แรกของเดือนธันวาคม
ดาวน์โหลด : ใบสมัคร
เอกสารประกอบการเบิกเงินทุน : –
ทุนอุดหนุนการศึกษาเพื่อปฏิบัติงานช่วยสอน จำนวน 10 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 9 เดือน โดยปฏิบัติงานช่วยสอนตั้งแต่เดือนสิงหาคม – เดือนเมษายน
- ระดับปริญญาโท ต่อคน เดือนละไม่เกิน 6,000 บาท
- ระดับปริญญาเอก ต่อคน เดือนละไม่เกิน 7,000 บาท
กำหนดเปิดรับสมัคร : ประมาณเดือนกรกฎาคมของทุกปี
ดาวน์โหลด : ใบสมัคร
เอกสารประกอบการเบิกเงินทุน : รายงานการปฏิบัติงานผู้ช่วยสอน ,สำเนาหน้าแรกของบัญชีธนาคาร และสำเนาบัตรนิสิต
เบิกได้เฉพาะค่าลงทะเบียน เบิกจ่ายตามที่จ่ายจริง คนละไม่เกิน 1,000 บาท
วิธีการสมัคร : นิสิตแจ้งความประสงค์เข้าร่วมประชุมล่วงหน้าอย่างน้อย 2 เดือนก่อนกำหนดการประชุม
**เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะฯ จึงชำระค่าลงทะเบียน และนำใบเสร็จมาเบิกภายหลังกำหนดการประชุม**
ดาวน์โหลด: ใบสมัคร
เอกสารประกอบการเบิกเงินทุน : ใบเสร็จรับเงินค่าลงทะเบียน (ต้นฉบับ) ระบุชื่อ นามสกุลนิสิต, สำเนาบัตรนิสิต, สำเนาหน้าแรกของบัญชีธนาคาร และรายงานการเดินทางไปร่วมประชุม
(1) เสนอผลงานวิชาการในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล
- ค่าลงทะเบียน เบิกจ่ายตามที่จ่ายจริง คนละไม่เกิน 7,000 บาท
- ค่าที่พัก เบิกจ่ายตามที่จ่ายจริง (ในเขตปริมณฑล) ต่อคนวันละไม่เกิน 800 บาท
- ค่าพาหนะเดินทาง เบิกจ่ายตามที่จ่ายจริง คนละไม่เกิน 600 บาท
(2) เสนอผลงานวิชาการในต่างจังหวัด
- ค่าลงทะเบียน เบิกจ่ายตามที่จ่ายจริง คนละไม่เกิน 7,000 บาท
- ค่าที่พัก เบิกจ่ายตามที่จ่ายจริง ไม่เกินวันละ 800 บาท
- ค่าเบี้ยเลี้ยง เหมาจ่าย ต่อคนวันละ ไม่เกิน 300 บาท
- ค่าพาหนะเดินทาง เบิกจ่ายได้ไม่เกินอัตราค่าโดยสารรถประจำทาง รถมาตรฐาน 1ข หรือรถมาตรฐาน 4 ข (2 ชั้น) หรือ
รถไฟตู้ปรับอากาศนั่งหรือนอน ชั้น 2 หรือค่าโดยสารเครื่องบินไป-กลับชั้นประหยัด
วิธีการสมัคร : นิสิตแจ้งความประสงค์เข้าร่วมประชุมล่วงหน้าอย่างน้อย 2 เดือนก่อนกำหนดการประชุม
**เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะฯ จึงชำระค่าลงทะเบียน และนำใบเสร็จมาเบิกภายหลังกำหนดการประชุม**
ดาวน์โหลด : ใบสมัคร
เอกสารประกอบการเบิกเงินทุน : ใบเสร็จค่าลงทะเบียน (ต้นฉบับ) , ค่าที่พัก, ค่าเดินทาง (ระบุชื่อ นามสกุล ที่อยู่นิสิต), ใบสำคัญรับเงินค่าเบี้ยเลี้ยง, สำเนาบัตรนิสิต, สำเนาหน้าแรกของบัญชีธนาคาร และรายงานการเดินทางไปร่วมประชุม
หลักสูตรฯ ให้ทุนสนับสนุนกิจกรรมในต่างประเทศ เพิ่มเติม ได้แก่
- การไปร่วมประชุมเพื่อเพิ่มพูนความรู้
- การไปเสนอผลงานวิชาการ
- การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop)
- Summer School
เบิกจ่ายตามอัตราข้างท้าย (ระดับปริญญาโท ไม่เกินวงเงิน 20,000 บาทและปริญญาเอก ไม่เกินวงเงิน 30,000 บาท)
- ค่าสมัครหรือค่าลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม รวมถึงค่าอาหาร ที่พัก ค่าเอกสาร ให้เบิกจ่ายตามที่จ่ายจริง
- ค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าที่พักนิสิต กรณีที่หน่วยงานผู้จัดไม่จัดที่พักและอาหารเหมาจ่าย ต่อคนวันละ 2,500 บาท
- ค่าพาหนะเดินทางระหวางประเทศโดยเครื่องบินสำหรับนิสิต ให้เบิกจ่ายตามที่จ่ายจริงโดยชั้นประหยัด
- ค่าพาหนะเดินทางไป-กลับระหว่างที่อยู่ ที่พัก กับสนามบินในประเทศ ให้เบิกจ่ายตามที่จ่ายจริง เที่ยวละ 500 บาท
ดาวน์โหลด : ใบสมัคร
เอกสารประกอบการเบิกเงินทุน : ใบเสร็จค่าลงทะเบียน (ต้นฉบับ) , ค่าที่พัก, ค่าเดินทาง (ระบุชื่อ นามสกุล ที่อยู่นิสิต),
ใบสำคัญรับเงินค่าเบี้ยเลี้ยง, สำเนาบัตรนิสิต, สำเนาหน้าหน้าแรกของบัญชีธนาคารและรายงานการเดินทางไปร่วมประชุม
นิสิตระดับปริญญาโท และเอก สามารถขอทุนไปเสนอผลงานวิชาการในต่างประเทศได้ ไม่เกิน 1 ครั้งตลอดการศึกษา จากบัณฑิตวิทยาลัย (เป็นทุนร่วมกับคณะ/หลักสูตร)
- ระดับปริญญาโท ในวงเงินไม่เกิน 40,000 บาท
- ระดับปริญญาเอก ในวงเงินไม่เกิน 60,000 บาท
ดูรายละเอียดและดาวน์โหลดแบบฟอร์มขอรับทุนได้ที่เว็บบัณฑิตวิทยาลัย https://www.grad.chula.ac.th/ (เมนูทุนอุดหนุนการวิจัย) และส่งใบสมัครที่หลักสูตรฯ ล่วงหน้าอย่างน้อย 2 เดือนก่อนกำหนดการเดินทางไปเสนอผลงานวิชาการ
นอกจากนี้ นิสิตสามารถขอทุนสนับสนุนค่าใช้จ่ายเหมาจ่ายในการเดินทางไปเสนอผลงานวิชาการในต่างประเทศจากหลักสูตร
สมทบเพิ่มเติมได้ โดยจะต้องมีแหล่งทุนอื่นสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปเสนอผลงานวิชาการ และผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ