Skip to content

นิสิตในหลักสูตร

วท.ม. & วท.ด. สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์และวิทยาการคณนา

หลักสูตรปริญญาโท

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อปริญญา
(ภาษาไทย : ชื่อเต็ม)          วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
(ภาษาไทย : อักษรย่อ)       วท.ม.
(ภาษาอังกฤษ : ชื่อเต็ม)     Master of Science
(ภาษาอังกฤษ : อักษรย่อ)   M.Sc.
(ภาษาไทย : ชื่อสาขาวิชา)  สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์และวิทยาการคณนา
(ภาษาอังกฤษ : ชื่อสาขาวิชา) Applied Mathematics and Computational Science

ชื่อสาขาวิชาที่ระบุใน TRANSCRIPT
FIELD OF STUDY: Applied Mathematics and Computational Science

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติต่อไปนี้

  1. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีความรู้ด้านคณิตศาสตร์ สถิติ และวิทยาการคอมพิวเตอร์ สามารถประยุกต์ความรู้ทั้งสามด้าน รวมทั้งความรู้ทางวิทยาศาสตร์สาขาอื่น เพื่อแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศาสตร์อื่น ๆ ที่สนใจได้ และสามารถวิเคราะห์ ค้นคว้า วิจัย และติดตามความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการระดับสากล
  2. เพื่อผลิตงานวิจัยหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางด้านคณิตศาสตร์ประยุกต์หรือวิทยาการคณนาเพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศ หรือแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้

คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์

คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือ บัณฑิตจุฬาฯ เป็นผู้ที่มีคุณค่าของสังคมโลก ซึ่งประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ  14 ประเด็น ดังนี้ 1. มีความรู้ (รู้รอบ รู้ลึก)  2. มีคุณธรรม (มีคุณธรรมและจริยธรรม  มีจรรยาบรรณ)  3. คิดเป็น (สามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณ สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์  มีทักษะในการคิดแก้ปัญหา)  4. ทำเป็น (มีทักษะทางวิชาชีพ มีทักษะทางการสื่อสาร มีทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ มีทักษะทางคณิตศาสตร์และสถิติ มีทักษะการบริหารจัดการ)  5. ใฝ่รู้และรู้จักวิธีการเรียนรู้ (ใฝ่รู้ รู้จักวิธีการเรียนรู้)  6. มีภาวะผู้นำ  7. มีสุขภาวะ  8. มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ  9. ดำรงความเป็นไทยในกระแสโลกาภิวัตน์

สำหรับคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตรมีลักษณะเด่น คือ
1. มีความรู้ด้านคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์
2. สามารถวิเคราะห์ ค้นคว้า และวิจัย
3. สามารถติดตามความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการระดับสากล
4. สามารถผลิตงานวิจัยหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางด้านคณิตศาสตร์ประยุกต์หรือวิทยาการคณนาเพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศ หรือแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้
5. มีความซื่อสัตย์สุจริต และ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
6. สามารถใช้เทคโนโลยีในการทำงานและการสืบค้นข้อมูล
7. มีทักษะการสื่อสาร/นำเสนองานวิจัย และสามารถแสดงความคิดเห็น อภิปรายในระดับนานาชาติ

รายละเอียดหลักสูตรระดับปริญญาโท

หลักสูตรปริญญาเอก

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อปริญญา
(ภาษาไทย : ชื่อเต็ม)           วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
(ภาษาไทย : อักษรย่อ)        วท.ด.
(ภาษาอังกฤษ : ชื่อเต็ม)      Doctor of Philosophy
(ภาษาอังกฤษ : อักษรย่อ)   Ph.D.
(ภาษาไทย : ชื่อสาขาวิชา)  สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์และวิทยาการคณนา
(ภาษาอังกฤษ : ชื่อสาขาวิชา) Applied Mathematics and Computational Science

ชื่อสาขาวิชาที่ระบุใน TRANSCRIPT
FIELD OF STUDY:   Applied Mathematics and Computational Science

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  1. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีความรู้ด้านคณิตศาสตร์ สถิติ และวิทยาการคอมพิวเตอร์ในเชิงลึก ที่สามารถประยุกต์ความรู้ทั้งสามด้าน รวมทั้งความรู้ทางวิทยาศาสตร์สาขาอื่น เพื่อแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศาสตร์อื่น ๆ ที่สนใจได้  และสามารถวิเคราะห์ ค้นคว้า วิจัย และติดตามความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการระดับสากล
  2. เพื่อผลิตงานวิจัยหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางด้านคณิตศาสตร์ประยุกต์หรือวิทยาการคณนา เชิงลึกที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ซึ่งอยู่ในฐานข้อมูล เพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศ หรือแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้
  3. เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหลักสูตรฯ กับภาคอุตสาหกรรมและเอกชน ในการเพิ่มพูนประสบการณ์การทำงานของนิสิต โดยประยุกต์ใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์ประยุกต์และวิทยาการคณนาเพื่อแก้ปัญหาในอุตสาหกรรมของบริษัท องค์กร และหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย  ทั้งภาครัฐและเอกชน

คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์

คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือ บัณฑิตจุฬาฯ เป็นผู้ที่มีคุณค่าของสังคมโลก ซึ่งประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ  14 ประเด็น ดังนี้ 1. มีความรู้ (รู้รอบ รู้ลึก)  2. มีคุณธรรม (มีคุณธรรมและจริยธรรม  มีจรรยาบรรณ)  3. คิดเป็น (สามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณ สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์  มีทักษะในการคิดแก้ปัญหา)  4. ทำเป็น (มีทักษะทางวิชาชีพ มีทักษะทางการสื่อสาร มีทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ มีทักษะทางคณิตศาสตร์และสถิติ มีทักษะการบริหารจัดการ)  5. ใฝ่รู้และรู้จักวิธีการเรียนรู้ (ใฝ่รู้ รู้จักวิธีการเรียนรู้)  6. มีภาวะผู้นำ  7. มีสุขภาวะ  8. มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ  9. ดำรงความเป็นไทยในกระแสโลกาภิวัตน์

สำหรับคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตรมีลักษณะเด่น คือ
1. มีความรู้ด้านคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์
2. สามารถวิเคราะห์ ค้นคว้า และวิจัย
3. สามารถติดตามความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการระดับสากล
4. สามารถผลิตงานวิจัยหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางด้านคณิตศาสตร์ประยุกต์หรือวิทยาการ คณนาเพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศ หรือแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้
5. มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
6. สามารถใช้เทคโนโลยีในการทำงานและการสืบค้นข้อมูล
7. มีทักษะการสื่อสาร/นำเสนองานวิจัย และสามารถแสดงความคิดเห็น อภิปรายในระดับนานาชาติ

รายละเอียดหลักสูตรระดับปริญญาเอก

Double-Degree Master’s Program in Computational Science with Kanazawa University, Japan (2012-Present)

การสอบวัดคุณสมบัติ

นิสิตระดับปริญญาเอกสามารถสอบวัดคุณสมบัติได้ก็ต่อเมื่อ
(1) ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
(2) ลงทะเบียนรายวิชาการสอบวัดคุณสมบัติในภาคการศึกษาที่จะสอบวัดคุณสมบัติ เว้นแต่นิสิตที่เข้า ศึกษาด้วยวุฒิปริญญาโทหรือวุฒิปริญญาตรีที่ได้รับปริญญาเกียรตินิยม สามารถลงทะเบียนสอบวัดคุณสมบัติ ได้ตั้งแต่ภาคการศึกษาแรกที่เข้าศึกษา

นิสิตหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิตต้องสอบวัดคุณสมบัติและได้รับสัญลักษณ์ S ภายในกำหนด ระยะเวลาดังต่อไปนี้ นับแต่ภาคการศึกษาแรกที่เข้าศึกษา
(1) นิสิตที่เข้าศึกษาด้วยวุฒิปริญญาโท ภายใน 4 ภาคการศึกษา สำหรับแบบทวิภาค และ 6 ภาคการศึกษาสำหรับแบบตรีภาค
(2) นิสิตเข้าศึกษาด้วยวุฒิปริญญาตรี ภายใน 5 ภาคการศึกษา สำหรับแบบทวิภาค และ 7 ภาคการศึกษาสำหรับแบบตรีภาค

นิสิตที่สอบวัดคุณสมบัติแล้ว และได้รับสัญลักษณ์ U สามารถลงทะเบียนสอบได้อีก 1 ครั้ง แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินระยะเวลาที่กำหนดตามวรรคหนึ่ง

การสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ จะกระทำได้เมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ 

นิสิตต้องเสนอโครงร่างวิทยานิพนธ์ต่อคณะกรรมการบริหารหลักสูตรตามหลักเกณฑ์และภายในระยะเวลาที่คณบดีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารคณะประกาศกำหนด

โครงร่างวิทยานิพนธ์ของนิสิตพร้อมทั้งรายชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและได้รับอนุมัติโดยคณะกรรมการบริหารคณะตามลำดับ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และภายในกำหนดเวลาที่คณะกรรมการบริหารคณะกำหนด

หลักเกณฑ์และกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่งและวรรคสองให้จัดทำเป็นประกาศคณะ

ข้อ 29 นิสิตต้องได้รับอนุมัติโครงร่างวิทยานิพนธ์ภายในกำหนดเวลาที่คณะกรรมการบริหารคณะกำหนด และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้
(1) สำหรับหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต ภายใน 2 ปีการศึกษานับแต่ภาคการศึกษาแรกที่เข้าศึกษา
(2) สำหรับหลักสูตรแบบต่อเนื่อง นิสิตในหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิตจะสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์เมื่อใด ก็ได้ แต่ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามข้อ 72 (2)

คณะกรรมการบริหารหลักสูตรโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารคณะอาจกำหนดให้นิสิตในหลักสูตรต้องสอบและได้รับอนุมัติโครงร่างวิทยานิพนธ์ก่อนกำหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่งได้ โดยต้องจัดทำเป็นประกาศคณะก่อนรับนิสิตเข้าศึกษา

นิสิตที่มิได้รับอนุมัติโครงร่างวิทยานิพนธ์ภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้พ้นสถานภาพการเป็นนิสิตเว้นแต่มีเหตุอันจำเป็นและสมควรคณะกรรมการบริหารคณะอาจขยายกำหนดเวลาต่อไปอีก 1 ภาคการศึกษาได้ และให้คณะดำเนินการแจ้งสำนักงานการทะเบียน

ข้อ 72(2) ได้รับอนุมัติโครงร่างวิทยานิพนธ์จากคณะกรรมการบริหารคณะเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 60 วัน ก่อนวันสอบวิทยานิพนธ์ แต่ในกรณีที่โครงร่างวิทยานิพนธ์ไม่มีข้อแก้ไขในสาระสำคัญ และคณะกรรมการบริหารคณะอนุมัติให้สอบวิทยานิพนธ์ได้ก่อนระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง โดยให้เริ่มต้นนับระยะเวลาดังกล่าวตั้งแต่วันที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรเห็นชอบโครงร่างวิทยานิพนธ์

การสอบวิทยานิพนธ์ จะกระทำได้เมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ 

  • สำหรับนิสิตที่เข้าศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2556 ถึงปีการศึกษา 2560

นิสิตจะสอบวิทยานิพนธ์ได้ ก็ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้
1) ลงทะเบียนรายวิชาครบตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร 
2) โครงร่างวิทยานิพนธ์ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารคณะเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 60 วัน ก่อนวันสอบวิทยานิพนธ์ 
3) มีหลักฐานแสดงว่า ได้ส่งบทความวิจัยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งใช้วารสารทางวิชาการพิจารณาเพื่อการตีพิมพ์แล้ว หรือได้รับการตอบรับให้ไปเสนอผลงานต่อที่ประชุมวิชาการแล้ว 
4) ผ่านเกณฑ์อื่นๆ ตามที่คณะกรรมการบริหารคณะกำหนด นิสิตที่ประสงค์จะสอบวิทยานิพนธ์ให้ดำเนินการตามขั้นตอนและระยะเวลาที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณะกำหนด

  • สำหรับนิสิตที่เข้าศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2561  เป็นต้นไป

นิสิตจะสอบวิทยานิพนธ์ได้ ก็ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้
1) ลงทะเบียนเรียนรายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
2) ได้รับอนุมัติโครงร่างวิทยานิพนธ์จากคณะกรรมการบริหารคณะเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๖๐ วัน ก่อนวันสอบวิทยานิพนธ์ แต่ในกรณีที่โครงร่างวิทยานิพนธ์ไม่มีข้อแก้ไขในสาระสำคัญ และคณะกรรมการบริหารคณะอนุมัติให้สอบวิทยานิพนธ์ได้ก่อนระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง โดยให้เริ่มต้นนับระยะเวลาดังกล่าวตั้งแต่วันที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรเห็นชอบโครงร่างวิทยานิพนธ์
3) มีหลักฐานแสดงว่า ได้ส่งบทความวิจัยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ให้วารสารทางวิชาการ พิจารณาเพื่อการตีพิมพ์แล้ว หรือได้รับการตอบรับให้ไปเสนอผลงานต่อที่ประชุมวิชาการแล้ว ทั้งนี้ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในระเบียบหรือประกาศมหาวิทยาลัย
4) ผ่านเกณฑ์การทดสอบภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศอื่น ตามที่มหาวิทยาลัยหรือ คณะกรรมการบริหารหลักสูตรกำหนด
5) ผ่านเกณฑ์อื่นๆ ตามที่คณะกรรมการบริหารคณะกำหนด นิสิตที่ประสงค์จะสอบวิทยานิพนธ์ให้ดำเนินการตามขั้นตอนและระยะเวลาที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณะกำหนด

ข้อบังคับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ระเบียบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา

แบบฟอร์ม