คณิตศาสตร์
วิทยาศาสตรบัณฑิต
หลักสูตร
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถด้านคณิตศาสตร์บริสุทธิ์และประยุกต์ ที่มีมาตรฐานและมีแนวทางการพัฒนาการสอนและการวิจัยที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ รักษาเสถียรภาพความเป็นสถาบันชั้นนำของประเทศ รวมทั้งผลิตบุคลากรทางด้านคณิตศาสตร์ที่มีความรู้ความสามารถในการคิดและปฏิบัติ มีความสามารถในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ พร้อมทั้งมีคุณธรรม มีความเป็นผู้นำและมีความรับผิดชอบต่อสังคม
เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติต่อไปนี้
- มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ซึ่งสามารถวิเคราะห์และแก้ปัญหาด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ มีความใฝ่รู้ สามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองและมีศักยภาพในการค้นคว้า ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ
- มีความรู้ทางคณิตศาสตร์และตระหนักถึงคุณค่าของคณิตศาสตร์ ตลอดจนสามารถนำคณิตศาสตร์ไปประยุกต์ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
- มีความสามารถในการนำความรู้มาประมวล เพื่อประโยชน์ของตนเองและส่วนรวม มีบุคลิกภาพดี มีคุณธรรมและจิตใจดี ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน มีความรับผิดชอบต่อสังคม เข้าใจธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อที่จะมีส่วนช่วยในการตัดสินใจและเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม สามารถปรับตัวและแก้ปัญหาได้ด้วยสติปัญญา รู้จักคิดวิเคราะห์และเห็นคุณค่าของวัฒนธรรม
- มีความสามารถในการสื่อสารด้วยการพูดและการเขียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษตลอดจนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ
ทั้งนี้สำหรับบัณฑิตแบบเอก-โท แบบเอกเดี่ยว-สหกิจศึกษาและแบบเอก-โท-สหกิจศึกษา และแบบโปรแกรมเกียรตินิยม มีคุณสมบัติเพิ่มเติมดังนี้
- แบบเอก-โท มีความรู้ในสาขาที่นอกเหนือจากคณิตศาสตร์ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการประสานความรู้ของศาสตร์ที่ต่างกันในการทำวิจัยหรือการทำงานในอนาคต
- แบบเอกเดี่ยว-สหกิจศึกษาและแบบเอก-โท-สหกิจศึกษา มีทักษะที่พร้อมในการปฏิบัติงานและมีทักษะที่ตรงตามความต้องการของสถานประกอบการและตลาดแรงงาน
- แบบโปรแกรมเกียรตินิยม มีความพร้อมในการทำวิจัยและมีศักยภาพสูงเพื่อไปศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
โปรแกรม (หลักสูตร พ.ศ. 2566)
หลักสูตร ฯ มีทั้งหมด 5 โปรแกรม ดังนี้
โปรแกรม (4 ปี) | |
---|---|
แบบเอกเดี่ยว | 132 |
แบบเอกเดี่ยว-สหกิจศึกษา | 137 |
แบบเอก-โท | 132 |
แบบเอก-โท-สหกิจศึกษา | 137 |
แบบโปรแกรมเกียรตินิยม | 132 |
เอกเดี่ยว (132 หน่วยกิต) |
เอกเดี่ยว-สหกิจ (137 หน่วยกิต) |
เอก-โท (132 หน่วยกิต) |
เอก-โท-สหกิจ (137 หน่วยกิต) |
เกียรตินิยม (132 หน่วยกิต) |
|
---|---|---|---|---|---|
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 30 | 30 | 30 | 30 | 30 |
2. หมวดวิชาเฉพาะ | 96 | 101 | 96 | 101 | 96 |
2.1 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานและคณิตศาสตร์ | 27 | 32 | 27 | 32 | 27 |
2.2 กลุ่มวิชาบังคับสาขา | 39 | 39 | 39 ในสาขาคณิตศาสตร์ |
39 ในสาขาคณิตศาสตร์ |
45 |
2.3 กลุ่มวิชาเลือกสาขา | 30 | 30 | 15 ในสาขาคณิตศาสตร์ |
15 ในสาขาคณิตศาสตร์ |
25 |
2.4 กลุ่มวิชาโท | |||||
3. หมวดวิชาเลือกเสรี | 6 | 6 | 6 | 6 | 6 |
โอกาส
บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ สามารถทำงานได้ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน บัณฑิตสามารถประกอบอาชีพได้อย่างหลากหลาย เช่น อาจารย์ นักวิจัย นักคณิตศาสตร์ประกันภัยและประกันชีวิต นักลงทุน นักการเงินและการธนาคาร นักวิเคราะห์ระบบ หรือนักวางแผนระบบ เป็นต้น
นอกจากนี้บัณฑิตที่มีพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ดี จะมีวิธีการคิดอย่างเป็นระบบ มีเหตุมีผล ซึ่งสามารถเข้าศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา ทั้งในสาขาวิชาคณิตศาสตร์และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ