Skip to content

ภาพรวม

วท.ม. & วท.ด. สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

ภาพรวม

หลักสูตรบัณฑิตศึกษาสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศในภาควิชาประกอบด้วยหลักสูตรมหาบัณฑิตและหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต โดยหลักสูตรมหาบัณฑิตได้ให้ทางเลือกเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เข้าศึกษาทั้งในแบบที่ทำวิทยานิพนธ์และการทำโครงงานระดับมหาบัณฑิต การทำวิทยานิพนธ์จะเหมาะสมกับผู้เข้าศึกษาต่อที่ต้องการการศึกษาเชิงลึกในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์และเอื้อให้สามารถศึกษาต่อเนื่องในระดับดุษฎีบัณฑิตต่อไป ส่วนการทำโครงงานระดับมหาบัณฑิตจะเหมาะกับผู้ศึกษาต่อที่ต้องการความรู้รอบทางวิทยาการคอมพิวเตอร์และสามารถประยุกต์เข้ากับอาชีพในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์

หลักสูตรบัณฑิตศึกษาสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเน้นในการทำวิจัยในหัวข้อที่ทันสมัย โดยงานวิจัยบางส่วนจะอยู่ภายใต้ศูนย์วิจัยเอวิคในสาขาหลักดังต่อไปนี้

  1. ปัญญาประดิษฐ์ การเรียนรู้ของเครื่อง และโครงข่ายประสาท
  2. การประมวลภาพ คอมพิวเตอร์วิทัศน์ และการสร้างภาพนามธรรม
  3. วิศวกรรมซอฟต์แวร์และความรู้ฃ
  4. เครือข่ายคอมพิวเตอร์
  5. ชีวสารสนเทศ ตัวแบบพืช และการจำลอง

จากงานวิจัยที่หลากหลาย หลักสูตรบัณฑิตศึกษาสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศจะขยายขอบเขตของงานวิจัยและพัฒนาที่ล้ำสมัยซึ่งได้ดำเนินการตั้งแต่การก่อตั้งหลักสูตรดุษฎีบัณฑิตในปี พ.ศ. 2542 นวัตกรรมที่หลากหลายและความรอบรู้ ความชำนาญ เกิดขึ้นมากมายในรูปแบบของการทำวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก

หลักสูตร

หลักสูตรปริญญาโท

 โครงสร้างหลักสูตร แผน ก แบบ ก 1 แผน ก แบบ ก 2 แผน ข
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 36 36
จำนวนหน่วยกิตรายวิชาเรียน 24 30
    –  รายวิชาบังคับเลือก  18 18
    –  รายวิชาเลือก 6 12
จำนวนหน่วยกิตวิทยานิพนธ์ 36 12
จำนวนหน่วยกิตการค้นคว้าอิสระ 6
  • แผน ก แบบ ก 1                                                   
    • จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร  36  หน่วยกิต
    • ระยะเวลาการศึกษาไม่เกิน 4  ปีการศึกษา
  • แผน ก แบบ ก 2
    • จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร  36  หน่วยกิต
    • ระยะเวลาการศึกษาไม่เกิน  4  ปีการศึกษา
  • แผน ข
    • จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร  36  หน่วยกิต
    • ระยะเวลาการศึกษาไม่เกิน  4 ปีการศึกษา

หลักสูตรปริญญาเอก

โครงสร้างหลักสูตร แบบ 1.1 แบบ 2.2
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 48 72
  จำนวนหน่วยกิตรายวิชาเรียน 24
     –  รายวิชาบังคับ 9
     –  รายวิชาบังคับเลือก  9
     –  รายวิชาเลือก 6
  จำนวนหน่วยกิตวิทยานิพนธ์ 48 48

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร

  • แบบ 1.1  (สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญามหาบัณฑิต)  48  หน่วยกิต
    • ระยะเวลาการศึกษาไม่เกิน  6  ปีการศึกษา
  • แบบ 2.2  (สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาบัณฑิต)  72  หน่วยกิต
    • ระยะเวลาการศึกษาไม่เกิน  8  ปีการศึกษา

โอกาส

ผู้สำเร็จการศึกษาไปจากหลักสูตรสามารถทำงานและเติบโตในสายงานที่หลากหลาย

ตัวอย่างโอกาสในการทำงานหลังจากสำเร็จการศึกษามีดังต่อไปนี้

1. ปัญญาประดิษฐ์ การเรียนรู้ของเครื่อง และโครงข่ายประสาท
2. การประมวลภาพ คอมพิวเตอร์วิทัศน์ และการสร้างภาพนามธรรม
3. วิศวกรรมซอฟต์แวร์และความรู้ฃ
4. เครือข่ายคอมพิวเตอร์
5. ชีวสารสนเทศ ตัวแบบพืช และการจำลอง

ข้อบังคับฯ และระเบียบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เนื้อหารายวิชา